2.วิศวกร
นิยามของอาชีพวิศวกร
ดูเหมือนว่างานวิศวะจะเป็นหนึ่งในงานในฝันของหลาย ๆ คน บางคนมองหางานนี้เพราะต้องการงานที่มีความท้าทาย ทั้งในด้านการแก้ปัญหา และในด้านการปฏิบัติการ แต่คุณสมบัติเหล่านี้เพียงพอแล้วหรือไม่ที่จะทำให้เราได้งานวิศวกร เพราะงานวิศวะมีหลากหลายสาขา การเลือกงานให้เหมาะกับเราจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
งานวิศวกรมีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามรูปแบบ และลักษณะงานวิศวกรแต่ละสาย แต่ส่วนใหญ่แล้วรูปแบบของงาน จะมุ่งเน้นไปที่ การออกแบบ คิดวิเคราะห์ และการพัฒนา โดยแบ่งออกเป็นลักษณะคร่าว ๆ ดังนี้
- ออกแบบ วางแผน และสั่งการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนในโรงงาน หรือสถานที่ประกอบการอื่น ๆ
- วิเคราะห์ และหาแนวทางในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ในเหมาะกับงาน สิ่งแวดล้อม และผู้คนที่จะมาใช้ชิ้นงานนั้น
- เลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงาน วิศวกรจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะเลือกมาใช้ให้เพราะกับงานที่ตนเองกำลังทำอยู่
- งานวิศวะส่วนหนึ่งต้องอยู่กับการแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะเครื่องจักรที่เราใช้อยู่อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ วิศวกรจึงต้องรับมือกับปัญหาส่วนนั้นด้วย
- ตรวจสอบ และทดสอบ ตลอดจนประเมินเวลาในการดำเนินการงานในแต่ละโครงการ ว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อใด
จะเห็นได้ว่ากว่าจะได้ทำงานด้านวิศวกรนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ก็ไม่ได้ยากเกินไป หากเราเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงแล้ว อีกทั้งเมื่อเรามีความพร้อมทางด้านนี้ด้วยแล้ว การที่จะได้งานวิศวกรนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย
อยากเรียนวิศวะต้องสอบอะไรบ้าง?
1.O-net ม.6
2. 9วิชาสามัญ
3.GAT (General Aptitude Test) ความถนัดทั่วไป
4.PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
5. PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
6.PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ สำคัญมากกกกก****
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ คืออะไร?
ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือ PAT 3 (Professional and Academic Aptitude Test) เป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อนำมาใช้วัดความรู้พื้นฐานของน้อง ๆ ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในสายวิชาชีพเฉพาะ และยังเป็นการวัดศักยภาพความพร้อมในการเข้าเรียนอีกด้วยว่ามีมากน้อยเพียงใด
สามารถแบ่งข้อสอบออกได้ 2 พาร์ท ได้แก่
1. สอบวัดความรู้พื้นฐาน
เนื้อหาที่ออกสอบในส่วนนี้จะเป็นความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ฟิสิกส์ เคมี และความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฯลฯ
2. สอบวัดความถนัด
เนื้อหาที่ออกสอบในส่วนวัดความถนัด จะเป็นข้อสอบวัดว่าเราพร้อมกับการเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยหรือไม่ เช่น เรื่องการเขียนแบบทางด้านวิศวกรรม การคิดแบบวิศวกร การดูรูปทรง และความรู้ด้านเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกร เป็นต้น
อ้างอิงข้อมูลจาก : www.act.ac.th, www.ondemand.in.th
วิศวกรจบมาได้เงินเดือนเท่าไหร่กันนะ?
ส่วนใหญ่จะเริ่มที่ประมาณ20,000 แต่ถ้าทำไปเรื่อยๆ ก็จะอัพราคาตามความสามารถของเรา
Q&A คำถามยอดฮิต
Q : ถ้าไม่ได้เรียนสายวิทย์มา แต่สอบทุกวิชาที่ใช้ จะสามารถยื่นสมัครคณะวิศวะฯ ได้หรือไม่
A : ถ้ามหาวิทยาลัยนั้นกำหนดว่าจะต้องเป็นผู้ที่จบสายวิทย์หรือเทียบเท่าอย่าง ปวช. สายช่างอุตสาหกรรม ก็ไม่สามารถสมัครได้ค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีคะแนนของทุกวิชาครบก็ตาม ยื่นสมัครไปก็มีโอกาสสูงมากที่จะโดนคัดออกตอนสอบสัมภาษณ์ แต่ก็มีบางโครงการที่ไม่ได้กำหนดสายการเรียน อย่างภาคพิเศษ หรือหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งอันนี้ต้องดูระเบียบการปีต่อปีค่ะ อย่างบางที่เกณฑ์ปีนี้กับปีที่แล้วก็ไม่เหมือนกัน T_T
Q : ถ้าสมัครไปสาขาหนึ่ง แต่จะขอเปลี่ยนไปเรียนอีกสาขาหนึ่งได้ไหม
A : เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละมหาวิทยาลัยเลยค่ะ ว่าจะสามารถเปลี่ยนสาขาได้หรือไม่ ในการรับเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ในหลายมหาวิทยาลัยจะแบ่งการรับเป็น 2 แบบคือ รับแบบรวมสาขา(ค่อยไปเลือกสาขาตอนขึ้นปี 2) และ รับแบบแยกสาขา(เลือกเลยตั้งแต่ตอนสมัคร) เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนสาขาขึ้นอยู่กับการพิจารณาภายในล้วนๆ
Q : รูปแบบการคัดเลือกในรอบ 3 กับ 4 ไม่เหมือนกัน ใช้คะแนนแทนกันได้ไหม
A : ถ้าเทียบให้ชัดคือ ส่วนใหญ่ในรอบ 3 จะใช้คะแนน GAT PAT 1 และ PAT 3 แต่รอบ 4 จะใช้เป็น GAT PAT 2 และ PAT 3 มีน้องๆ หลายคนถามว่า ไม่ได้สอบ PAT 2 มีแต่ PAT 1 เอาไปยื่นแทนในรอบแอดมิชชั่นได้ไหม? คำตอบคือ ไม่ได้ ค่ะ ทั้ง 2 วิชานี้ต่างกันเลย PAT 1 คือเลข ส่วน PAT 2 คือวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) เป็นคนละรูปแบบเลยค่ะ
รู้ก่อนเรียน ! ข้อดี-ข้อเสียของการเรียนวิศวกร
ข้อดี
-หางานง่าย
-สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องมีวิศวกรอู่ยู่เสมอทำให้ไม่ตกงาน
-มีทักษะเฉพาะตัวสามารถซ่อมแซมสิ่งต่างๆได้โดยไม่ต้องโทรหาผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้ประหยัดเงินและเวลาได้มาก
ข้อเสีย
-มีความเสี่ยงในการบาดเจ็บในที่ทำงาน
-คนจบเยอะ งานดีๆต้องแข่งกันเข้า ต้องมีความสามารถที่โดดเด่น
2 ความคิดเห็น:
ได้ความรู้มากเลยครับ
ได้ความรู้มากเลยครัย
แสดงความคิดเห็น