5.นักกฎหมาย
นิยามของอาชีพนักกฎหมาย
ผู้ที่ใช้ความรู้ทางกฎหมายเป็นวิชาการประกอบการงานที่ตนปฏิบัติในสาขาต่าง ๆ เป็นคำรวมหมายความถึงผู้ประกอบการงานทางกฎหมายทุกประเภท ไม่เฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับศาล
ลักษณะอาชีพนักกฎหมาย
คือผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย อาทิ เนติกร, อัยการ, ทนายความ นักกฎหมายทำงานโดยอาศัยประโยชน์จากข้อสรุปของทฤษฎีทางกฎหมายตลอดจนองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาของแต่ละปัจเจกบุคคล หรือเป็นคนรับใช้ด้านกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง
อยากเป็นนักกฎหมายต้องสอบอะไร?
ถ้าอยากเป็นนักกฎหมาย ก็หนีไม่พ้นคณะคณะนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะที่มีการสอบเข้าหลายรูปแบบมาก แค่รอบแอดมิชชั่นก็มีทั้งแบบ GAT ล้วน, แบบ GAT + PAT 1 และ แบบ GAT + PAT 7 ส่วนในรอบรับตรง TCAS รอบ 1 2 3 4 มีหลายแบบ ทั้งใช้ Portfolio สอบวิชาเฉพาะนิติศาสตร์ ใช้คะแนนวิชาสามัญ ทางเข้าเลยมีเยอะมากเลยค่ะ
Q&A คำถามยอดฮิต
Q: ไม่ชอบอ่านหนังสือ เรียนนิติศาสตร์ได้ไหม?
A: เรียนได้ค่ะ ถ้าชอบจริงๆ แต่ละคนจะมีวิธีจัดการกับความไม่ชอบของตัวเองได้ นิติศาสตร์เป็นคณะที่ขึ้นชื่อว่าต้องอ่านหนังสือเยอะมากกกกกกก มากจนรุ่นพี่เคยบอกว่า “ไม่คิดท้อเวลาอ่านหนังสือ เพราะถ้าท้อเมื่อไหร่ อ่านไม่ทันแน่นอน TT”
A: เรียนได้ค่ะ ถ้าชอบจริงๆ แต่ละคนจะมีวิธีจัดการกับความไม่ชอบของตัวเองได้ นิติศาสตร์เป็นคณะที่ขึ้นชื่อว่าต้องอ่านหนังสือเยอะมากกกกกกก มากจนรุ่นพี่เคยบอกว่า “ไม่คิดท้อเวลาอ่านหนังสือ เพราะถ้าท้อเมื่อไหร่ อ่านไม่ทันแน่นอน TT”
Q: วิชาเฉพาะความรู้ทางนิติศาสตร์ มธ. สอบอะไรบ้าง?
A: วิชาความรู้ทางนิติศาสตร์ 1 คือการสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย และความสามารถในการใช้กฎหมาย ก็จะวัดความสามารถในการใช้เหตุผลวิเคราะห์ - ตีความกฎหมายของเรา ส่วนวิชาความรู้ทางนิติศาสตร์ 2 จะเป็นการสอบเรียงความ - ย่อความ โดยน้องๆ จะได้รับการตรวจข้อสอบวิชาความรู้ทางนิติศาสตร์ 2 ก็ต่อเมื่อมีคะแนนความรู้ทางนิติศาสตร์ 1 สูงสุด 700 คนแรก เฉพาะศูนย์รังสิตเท่านั้นค่ะ
A: วิชาความรู้ทางนิติศาสตร์ 1 คือการสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย และความสามารถในการใช้กฎหมาย ก็จะวัดความสามารถในการใช้เหตุผลวิเคราะห์ - ตีความกฎหมายของเรา ส่วนวิชาความรู้ทางนิติศาสตร์ 2 จะเป็นการสอบเรียงความ - ย่อความ โดยน้องๆ จะได้รับการตรวจข้อสอบวิชาความรู้ทางนิติศาสตร์ 2 ก็ต่อเมื่อมีคะแนนความรู้ทางนิติศาสตร์ 1 สูงสุด 700 คนแรก เฉพาะศูนย์รังสิตเท่านั้นค่ะ
อ้างอิงจาก:https://www.dek-d.com/tcas/52980/
นักกฎหมายจบมาได้เงินเดือนเท่าไหร่กันนะ?
1. ตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (เงินเดือน+เงินประจำตำแหน่ง = 106,360 – 115,920 บาท)
2.ตำแหน่งผู้พิพากษาและดะโต๊ะยุติธรรมในศาลยุติธรรม (เงินเดือน+เงินประจำตำแหน่ง = 25,770 – 125,590 บาท)
3. ตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง (เงินเดือน+เงินประจำตำแหน่ง = 97,560 – 125,590 บาท)
4.ตำแหน่งข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (เงินเดือน+เงินประจำตำแหน่ง = 17,560 – 115,740 บาท)
5.ตำแหน่งข้าราชการธุรการ สำนักงานอัยการสูงสุด (ฐานเงินเดือน 15,000 – 76,800 บาท + ค่าตอบแทนพิเศษ 4,500 – 16,500 บาท)
6. ตำแหน่งนักกฎหมายกฤษฎีกา (ฐานเงินเดือน 15,000 – 76,800 บาท + เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง 25,000 – 40,000 บาท)
7.ตำแหน่งพนักงานคดีพิเศษ และเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ฐานเงินเดือน 15,000 – 76,800 บาท + เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง 10,000 – 42,000 บาท)
8.ตำแหน่งพนักงานไต่สวน สำนักงาน ป.ป.ช. (ฐานเงินเดือน 15,000 – 76,800 บาท + ค่าตอบแทนพิเศษ 12,000 – 40,000 บาท)
9.ตำแหน่งข้าราชการ/ลูกจ้าง สำนักงาน ป.ป.ช. (ฐานเงินเดือน 15,000 – 76,800 บาท + ค่าตอบแทนพิเศษ 4,000 – 20,000 บาท)
10. ตำแหน่งพนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ท. (ฐานเงินเดือน 15,000 – 76,800 บาท + เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง 20,000 – 32,000 บาท)
รู้ก่อนเรียน ! ข้อดี-ข้อเสียของการเรียนนักกฎหมาย
ข้อดี
-ความมั่นคงทางการเงิน
-มัทักษะการใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์
-รู้จักโลกในมุมมองของกฎหมาย
-ได้ฝึกฝนจิตใจและฝึกทักษะความคิด
ข้อเสีย
-อ่านหนังสือสอบเยอะมากกก ต้องจำกฎหมายอย่างละเอียดต้องชอบจริงๆถึงเรียนได้
-เรียนจบมาไม่มีอะไรมาการันตีว่าเราจะได้งาน อยู่ที่ความสามารถล้วนๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น